-
อาคิลลีส กับ พาโตรคลุส : “คู่จิ้น” แห่งสงครามทรอย?
ทุกวันนี้ เรามักเห็นดารา บุคคลสาธารณะที่มีชื่อเสียงหรือเซเล็บจำนวนไม่น้อย ที่เหล่าแฟนคลับ ลุ้นอยากให้เป็นคู่รัก หรือ “คู่จิ้น” กันจริงๆ ส่วนสาเหตุนั้นมีหลายอย่าง อาจจะเคยมีผลงานร่วมกันหรือมีภาพลักษณ์ที่สนิทสนมกัน ขณะที่แฟนคลับบางคนจินตนาการกว้างไกลไปมากมาย ในวรรณคดีเอกของโลกอย่างมหากาพย์อีเลียด (Iliad) ของโฮเมอร์ (Homer) มีเรื่องราวความผูกพันระหว่างอาคิลลีส ขุนพลกรีกในสงครามทรอย กับทหารคนสนิทอย่างพาโตรคลุส ที่ทำให้หลายคนอดคิดไม่ได้ว่า ทั้งคู่อาจไม่ใช่แค่เพื่อนตายสหายศึกที่ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กันเท่านั้น แต่เป็นเช่นนั้นจริงๆ หรือ …อาคิลลีสกับพาโตรคลุส “จิ้นกัน” ตามคำที่เรียกกันในปัจจุบันหรือเปล่า ในภาพยนตร์ เรื่อง Troy เมื่อปี 2547 (2004) มีฉากที่ทหารกรีกสวมเกราะของอาคิลลีส ขุนศึกฝ่ายกรีก ออกไปรบ กระทั่งเจ้าชายเฮกเตอร์ของฝ่ายทรอยสังหารทหารคนนั้นไปแล้ว จึงรู้ความจริงว่า คนที่ตายนั้น หาใช่อาคิลลีสไม่ แต่เป็นพาโตรคลุส คนสนิทของขุนพลกรีกต่างหาก ความสัมพันธ์ระหว่างอาคิลลีส กับ พาโตรคลุส เป็นยังไงกันแน่ …นี่เป็นคำถามมาตลอดตั้งแต่สมัยกรีก เรารู้ว่าพาโตรคลุสเป็นคนสนิทที่อายุมากกว่าอาคิลลีส อาคิลลิสปฏิบัติต่อเขาด้วยความใส่ใจและทำทุกอย่างอย่างอ่อนโยน ซึ่งผิดกับสิ่งที่เขาทำกับคนอื่นๆ ด้วยกิริยายโสโอหังและแข็งกร้าวออกมาเสมอ ภาชนะดินเผาสมัยกรีกชิ้นหนึ่ง มีภาพอาคิลลิสที่นั่งอยู่ทางขวา กำลังพันแผลให้พาโตรคลุส ฉาก หรือ scene […]
-
รองเท้านารี : ไม้นี้มีตำนาน
ตำนานของชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา เล่าเรื่องหญิงคนหนึ่งที่เดินฝ่าหิมะอันหนาวเหน็บไปนำยาจากหมู่บ้านข้างเคียงมารักษาสามีและผู้คนที่ล้มป่วยด้วยโรคระบาด เธอกลายเป็นผู้ให้กำเนิดดอกไม้สีเหลืองหรือสีแดง(ชมพู) ที่รากของมันใช้เป็นสมุนไพรรักษาอาการต่างๆ ของผู้หญิง รวมถึงโรคฮิสทีเรีย กล้วยไม้รองเท้านารี (Lady’s Slipper) เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือบุหงากะสุตในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอกหรือที่เรียกว่า “กระเป๋า” มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอร์แลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ กล้วยไม้ชนิดนี้มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย ในประเทศไทยพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วไป บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ แสงแดดส่องถึง ส่วนในทวีปอเมริกาเหนือ พบทั่วไปในแคนาดาและสหรัฐแทบทุกที่ ยกเว้นรัฐเนวาดา รัฐฟลอริดา และรัฐฮาวาย ตำนานเก่าแก่ของชนเผ่าโอจิบเว (Ojibwe) กล่าวว่า นานมาแล้ว หมู่บ้านแห่งหนึ่งเกิดโรคระบาดขึ้น ผู้คนเจ็บป่วยล้มตายจำนวนมาก แม้แต่หมอประจำเผ่าเองก็ยังเอาตัวไม่รอด ทั้งหมู่บ้านตกอยู่ในความหวั่นวิตก เมื่อหัวหน้าเผ่าคิดจะส่งโกโกลี (Koo-Koo-Lee) ซึ่งเป็นมิชินิห์เวย์ (mizhinihway) หรือ คนนำสารไปขอยาจากหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง แต่ปรากฏว่าเขากลับล้มป่วยจากโรคระบาดนี้ด้วย วาห์ออนเนย์ (Wah-on-nay) […]
-
นกโรบิน : ฮีโรของชาวอะบอริจิน
จงไปนำไฟมาจากมาร์ ชื่อของเขาจะเป็นที่จดจำไปจนสิ้นกาล
-
ไม้นี้มีตำนาน : อัลมอนด์
จากตำนานโรแมนติกของความรักมั่นคงไม่เปลี่ยนแปรแม้วันเวลาผ่านไปนานเพียงใด สู่ตำนานของเทพีกะเทยที่เหล่าเทพพากันหวาดกลัวจนต้องจับตอน!!!
-
ตำนานพระคงคา
ชัยจักร ทวยุทธานนท์ : เรียบเรียง ชาวฮินดูเชื่อว่าแม่น้ำสายนี้สามารถชำระบาปทั้งปวงได้ เราได้ยินมาตั้งแต่เด็กว่าการลอยกระทงนั้นเป็นการขอขมาและรำลึกถึงคุณของแม่น้ำลำคลอง โดยเฉพาะการบูชา “พระคงคา” ที่เป็นเทพีแห่งสายน้ำทั้งมวลและยังเป็นบุคลาธิษฐานของแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งของอินเดีย ตำนานในศาสนาฮินดูกล่าวว่าเดิมแม่น้ำคงคาไหลอยู่บนสวรรค์ ต่อมาเหล่าเทพยินยอมให้ไหลผ่านมวยผมพระศิวะลงมาสู่โลกมนุษย์ยังบริเวณที่เป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน ชาวฮินดูเชื่อว่าแม่น้ำสายนี้สามารถชำระบาปทั้งปวงไปได้ ขณะที่คติทางศาสนาพุทธพยายามเชื่อมโยงเทศกาลดังกล่าวเข้ากับการบูชาพระพุทธบาทที่หาดทรายแก้วริมฝั่งแม่น้ำนัมมทาซึ่งพระพุทธองค์ทรงประทับไว้เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ แต่ดูเหมือนตำนานฝ่ายพุทธจะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก ขณะเดียวกันคนก็ยังลอยกระทงเพื่อบูชา “พระคงคา” อยู่เรื่อยมา แล้วใครรู้บ้างว่าเรื่องราวของเทพีผู้ได้รับการบูชาอย่างยิ่งในฐานะผู้ปลดปล่อยวิญญาณที่ทุกข์ทนให้พ้นทรมาน และผู้ล้างบาปทั้งมวลของมนุษยชาติเป็นอย่างไร วันนี้ pastory.co มีคำตอบครับ ขั้นแรกไปทำความรู้จักกับพระคงคากันก่อน พระคงคาเป็นธิดาของพระหิมวัต หรือพระหิมวันต์ (แปลตรงตัวคือ ซึ่งปกคลุมด้วยหิมะ หรือ แลล้วนไปด้วยหิมะ) ซึ่งเป็นบุคลาธิษฐานของเทือกเขาหิมาลัย พระนางมีรูปลักษณ์เป็นสตรี มีหลายปาง แต่หลักๆ ถือดอกบัวและหม้อน้ำซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดใหม่และความอุดมสมบูรณ์ ตามลำดับ มี “มกระ” (Makara) หรือที่ไทยเรียกว่า “มกร” (อ่านว่า มะ-กอน) รูปร่างคล้ายจระเข้ มีงวงเหมือนช้าง (บางตำนานก็ว่ามีหางเป็นปลา) เป็นสัตว์พาหนะซึ่งรูปลักษณ์ของมกรก็สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน วันหนึ่ง เทพียอมอภิเษกสมรสกับพระเจ้าศานตนุ (Shantanu) โดยรับปากว่าพระองค์จะไม่โกรธ ไม่เกลียดและจะไม่ซักถามเกี่ยวกับสิ่งที่พระแม่คงคาทำเลยทั้งสิ้น พระองค์มีโอรสกับพระคงคา 7 องค์ แต่ทุกองค์ถูกมารดาโยนลงแม่น้ำทั้งหมดตั้งแต่แรกเกิด […]
-
เปิดตำนานอสูร ตอน 5 สัตว์ประหลาด ถึงไม่ดัง…แต่ก็ยังน่ารู้จัก
วันก่อนเขียนเรื่องคิเมียรา หรือ ไคเมรา แล้วยังรู้สึกตะหงิดๆ อยากเล่าเรื่องอสูรกายหรือสัตว์ประหลาดในตำนานกรีกโบราณอีก วันนี้คัดมา 5 ตัวที่ต้องบอกว่าถึงไม่ popular เท่าไหร่ แต่มีเรื่องราวน่าสนใจไม่แพ้ตัว Top ที่คุ้นเคยกันแน่นอนครับ
-
เปิดตำนานอสูร ตอน คิเมียรา อสูรสามสายเลือด
ผ่านมาหลายพันปี ไคมีราหรือคิเมียรา อสูรในตำนานกรีกโบราณได้รับการกล่าวถึงอีกครั้ง ไม่เพียงในนิยายหรือภาพยนตร์ แต่ความเป็นลูกผสมของมันอาจช่วยอธิบายพันธุกรรมของไวรัสโควิดได้
-
ซูสมีลูกมีเมียเท่าไหร่
หนึ่งในคำถามสำหรับคนที่สนใจเรื่องราวโบราณ โดยเฉพาะตำนานอมตะของเทพกรีก-โรมัน ก็คือ มหาเทพซูสผู้ยิ่งใหญ่นั้นมีมเหสีและโอรส-ธิดาเท่าไหร่ ถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็คือมีเมียมีลูกกี่คนกันแน่ แล้วทำไมถึงต้องรู้เรื่องพรรค์นั้นของราชาแห่งทวยเทพด้วยล่ะ