-
รองเท้านารี : ไม้นี้มีตำนาน
ตำนานของชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา เล่าเรื่องหญิงคนหนึ่งที่เดินฝ่าหิมะอันหนาวเหน็บไปนำยาจากหมู่บ้านข้างเคียงมารักษาสามีและผู้คนที่ล้มป่วยด้วยโรคระบาด เธอกลายเป็นผู้ให้กำเนิดดอกไม้สีเหลืองหรือสีแดง(ชมพู) ที่รากของมันใช้เป็นสมุนไพรรักษาอาการต่างๆ ของผู้หญิง รวมถึงโรคฮิสทีเรีย กล้วยไม้รองเท้านารี (Lady’s Slipper) เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือบุหงากะสุตในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอกหรือที่เรียกว่า “กระเป๋า” มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอร์แลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ กล้วยไม้ชนิดนี้มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย ในประเทศไทยพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วไป บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ แสงแดดส่องถึง ส่วนในทวีปอเมริกาเหนือ พบทั่วไปในแคนาดาและสหรัฐแทบทุกที่ ยกเว้นรัฐเนวาดา รัฐฟลอริดา และรัฐฮาวาย ตำนานเก่าแก่ของชนเผ่าโอจิบเว (Ojibwe) กล่าวว่า นานมาแล้ว หมู่บ้านแห่งหนึ่งเกิดโรคระบาดขึ้น ผู้คนเจ็บป่วยล้มตายจำนวนมาก แม้แต่หมอประจำเผ่าเองก็ยังเอาตัวไม่รอด ทั้งหมู่บ้านตกอยู่ในความหวั่นวิตก เมื่อหัวหน้าเผ่าคิดจะส่งโกโกลี (Koo-Koo-Lee) ซึ่งเป็นมิชินิห์เวย์ (mizhinihway) หรือ คนนำสารไปขอยาจากหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง แต่ปรากฏว่าเขากลับล้มป่วยจากโรคระบาดนี้ด้วย วาห์ออนเนย์ (Wah-on-nay) […]